หลักการและเหตุผล

ศูนย์ความเป็นเลิศทางการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (Center of Excellence for Early Childhood Education, Mahasarakham University CEECE, MSU) ได้เริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 และดำเนินงานมาจนถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลาประมาณ 7 ปี ชื่อเดิมของศูนย์ คือ ศูนย์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย (Early Childhood Learning CenterECLC) แต่ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น ศูนย์ความเป็นเลิศทางการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยมหาสารคามเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 เพื่อให้ครอบคลุมกับลักษณะการดำเนินงานและภารกิจของศูนย์ฯ และพัฒนาไปสู่ความเป็นเลิศเฉพาะด้านทางการศึกษาปฐมวัย วัตถุประสงค์หลักของการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางการศึกษาปฐมวัยเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของนิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยและผู้ที่เกี่ยวข้องทางการศึกษาปฐมวัย รวมถึงผู้สนใจ ในรูปแบบของการให้บริการทางวิชาการ เพื่อให้ผู้เรียนและผู้ที่สนใจได้รับโอกาสในการพัฒนาความรู้ และได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเข้ามาใช้บริการของศูนย์ ในช่วงแรกของการเปิดให้บริการในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2549 นั้นยังเป็นการจัดตั้งและให้บริการในรูปแบบที่เป็นแหล่งค้นคว้า โดยทางศูนย์ได้รวบรวมองค์ความรู้ทางการศึกษาปฐมวัยเอาไว้ในหลากหลายรูปแบบ เช่น สื่อการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย วีดีโอ วีซีดี เทปเพลง ของเล่น ตลอดจนนิทาน วรรณกรรม หนังสือ ตำรา เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งเด็กปฐมวัยและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งผู้ปกครอง ครู อาจารย์ นักวิชาการ ผู้บริหารสถานศึกษา ตลอดจนนิสิต นักศึกษาทุกระดับสามารถเข้ามาใช้บริการเพื่อค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ได้ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 4 ข้อของศูนย์ฯ ดังนี้ 1) เพื่อเป็นศูนย์รวมสรรพวิทยาทางการศึกษาปฐมวัยในรูปแบบที่หลากหลายทั้งหนังสือ ตำรา เอกสารคัดสรร นิทาน วรรณกรรม สื่อของเล่น วีซีดี เทปเพลง โดยมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 2) เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และศึกษาค้นคว้าเฉพาะทางของนิสิตนักศึกษาทุกระดับ และผู้ที่สนใจด้านการศึกษาปฐมวัย 3) เพื่อให้บริการทางการศึกษาปฐมวัยแก่ชุมชนเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเด็กปฐมวัย และ 4) เพื่อเป็นแหล่งให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเด็กปฐมวัยจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านการศึกษาปฐมวัยโดยตรง มีคณาจารย์สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยจำนวน 2 ท่านในช่วงแรกของการดำเนินงานโดยศูนย์ตั้งอยู่ที่ห้อง ศษ. 104 ชั้นล่าง อาคารศึกษาศาสตร์ 2 หรืออาคารโครงการดุษฎีบัณฑิต หรืออาคารแปดเหลี่ยม ต่อมาได้ย้ายสถานที่เป็นห้อง ศษ. 101 และ 102 รวมทั้งได้เพิ่มจำนวนผู้ปฏิบัติงานเป็นอาจารย์ 1 ท่าน ศูนย์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับทางสาขามีการรับบุคคลากรเพิ่มทำให้การดำเนินการมีความคล่องตัวและชัดเจนมากขึ้น และในวันที่ 24 มกราคม2557 ได้มีการทำพิธีเปิดห้องสมุดศูนย์ความเป็นเลิศทางการศึกษาปฐมวัย (CEECE Library) อย่างเป็นทางการ โดยมี 3 ท่านได้แก่ ผ.ศ.ศรีกัญภัสส์ รังษีบวรกุล ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ ผ.ศ.วีณา ประชากูลและอาจารย์สุดาเรศ ศิริสิทธิ์ธนภาค เป็นผู้ดูแลการดำเนินงานของศูนย์ โดยในช่วงแรกศูนย์จะเปิดให้บริการยืมหนังสือเฉพาะนิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยที่กำลังศึกษาอยู่เท่านั้น นอกจากนี้ทางศูนย์ยังมีหน้าที่ส่งเสริมทักษะที่จำเป็นสำหรับครูปฐมวัยให้กับนิสิต ได้แก่ทักษะการผลิตหนังสือนิทานที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัยเข้าห้องสมุด โดยได้มีการบูรณาการให้สอดคล้องกับรายวิชาเรียนได้แก่ รายวิชานิทานวรรณกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย และต่อมาได้มีการขอจดทะเบียนจัดตั้งศูนย์อย่างเป็นทางการช่วงเดือนมีนาคม 2557 อย่างเป็นทางการโดยได้ขึ้นตรงกับหน่วยงานของคณะคือ ศูนย์บริการวิชาการ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และในปีพ.ศ. 2558 ทางสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยได้รับอาจารย์ใหม่จำนวน 3 ท่านได้แก่ อาจารย์ปิยาภรณ์ กังสดาร อาจารย์บงกชกร ศุภเกษร และอาจารย์วรรณิษา หาคูณ จึงได้มีการขยายงานของศูนย์ด้วยการเพิ่มแหล่งการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการฝึกปฏิบัติทักษะที่จำเป็นสำหรับครูปฐมวัยที่หลากหลายและมีแนวทางการดำเนินงาน การกำหนดผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนมากขึ้นโดยได้มีการจัดตั้งศูนย์ย่อย 5 ศูนย์ ได้แก่ 1) CEECE Library 2) CEECE Farm 3) CEECE Innovation Room 4) CEECE Music Room